ม.เกษตร ร่วมกับ มหาลัยญี่ปุ่น เปิดศูนย์วิจัยทรัพยากรแหนเป็ดฮอโลไบออนท์ สู่เศรษฐกิจ BCG ของประเทศอย่างครบวงจร
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีหัวหน้าโครงการวิจัยหลักทางญี่ปุ่น คือ Prof. Masaaki Morikawa มหาวิทยาลัยฮอกไกโด และทางไทยคือ ศ.ดร. อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับทีมนักวิจัยจากหลายสถาบัน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหิดล ขอนแก่น จุฬาลงกรณ์ ราชภัฏนครปฐม รามคำแหง ศูนย์พันธุฯ ศูนย์นาโนฯ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สวทช มหาวิทยาลัยฮอกไกโด โอซากา เกียวโต โทโฮกุ ยามานาชิ และสถาบันศึกษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น) เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศไทย ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา มาช่วยกันยกระดับทำให้แหนเป็ดเกิดเป็นประโยชน์มากที่สุด
ศูนย์วิจัยทรัพยากรแหนเป็ดฮอโลไบออนต์ หรือ DHbRC การพัฒนาคุณค่าทรัพยากรแหนเป็ดฮอโลไบออนท์สู่เศรษฐกิจ BCG เกิดภายใต้โครงการความร่วมมือวิจัยแบบบูรณา สนับสนุนโดย Science and Technology Research Partnership for Sustainable Development (SATREPS), Japan International Cooperation Agency (JICA) ร่วมกับ Japan Science and Technology ระหว่างทีมนักวิจัยไทยและญี่ปุ่น Agency (UST) ภายใต้วงเงิน 300 ล้านเยน ในระยะเวลา 5 ปี (2564-2569)ทีม วิจัยสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของแหนเป็ดในประเทศไทย 4 สกุล ได้แก่ ผ้า แหนเป็ดใหญ่ และแหนเป็ด เล็ก รวมทั้งจุลินทรีย์ร่วมอาศัย ศึกษาความสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยาและกายภาพ วิเคราะห์จีโนม ไมโครไบโอม และ อธิบายกลไกและปฏิสัมพันธ์ระหว่างแหนเป็ด จุลินทรีย์ และสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีโอมิกส์และชีวสารสนเทศ เพื่อให้ได้จุลินทรีย์ที่ส่งเสริมให้แหนเป็ดเจริญดี เพิ่มชีวมวล สะสมโปรตีนสูง ผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และเพิ่ม
สารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ วิตะมิน แคโรทีนอยด์ ฟลาวานอยด์ เพื่อนำมาใช้พัฒนาเป็นอาหารเชิงหน้าที่ของ มนุษย์ และเพิ่มคุณค่าอาหารสัตว์ นอกจากนี้ทีมวิจัยยังใช้แหนเป็ดเพื่อบำบัดน้ำเสียจากปศุสัตว์และโรงงาน อุตสาหกรรม โดยนำชีวมวลของแหนเบ็ดกลับมาใช้หมักเป็นก๊าซมีเทน และสังเคราะห์พลาสติกชีวภาพ ซึ่งนับเป็น การใช้ทรัพยากรแหนเปิด ตอบโจทย์เศรฐกิจชีวภาพ BCG ของประเทศอย่างครบวงจร โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัย แหนเป็ดฯ ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อใช้เป็นศูนย์วิจัยทดลอง เก็บรวบรวมพันธุ์แหนเป็ด
และจุลินทรีย์ มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก JICA ครบครัน มีระบบเลี้ยงแหนเป็ดแบบ plant factory ที่ทันสมัย มีความร่วมมือกับบริษัทเอกชนไทย ได้แก่ ADGreen และญี่ปุ่น ได้แก่ Saraya นอกจากนี้ยังมี การถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังเกษตรกรและผู้ประกอบการขนาดเล็กในประเทศ ซึ่งในปีนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 7th International Conference on Duckweed Research and Application (ICDRA) ที่ประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 12-15 พฤศจิกายน 2567