“ข้าว” ไม่เพียงเป็นอาหารหลักของประชากรโลกนับพันล้านคน แต่สำหรับประเทศไทย ข้าวคือหัวใจของวัฒนธรรม วิถีชิวิต และยังเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน ทั้งในแง่ของการสร้างงานและรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไปจนถึงการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานอาหารโลกที่สำคัญ ด้วยชื่อเสียงด้านรสชาติ คุณภาพ และความหลากหลายของสายพันธุ์ ทำให้ข้าวไทยกลายเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ และครองตำแหน่งหนึ่งในผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารหลักของโลก ที่ช่วยสร้างและขับเคลื่อนความมั่นคงด้านอาหาร

ในบริบทของเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การรักษาและต่อยอดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยจึงเป็นภารกิจสำคัญ โดยเฉพาะในยุคที่ความต้องการอาหารคุณภาพสูงจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตและการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน โดยข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยระบุว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2568 (ม.ค.–ก.พ.) ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยอยู่ที่ 1.19 ล้านตัน มูลค่า 26,160 ล้านบาท โดยปริมาณการส่งออกลดลงถึง 32.9% และมูลค่าส่งออกลดลง 35.1% ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2567

หนึ่งในกลยุทธ์ที่เป็นหัวใจสำคัญเพื่อให้เกษตรกรไทยสามารถรักษาและต่อยอดศักยภาพในการผลิตข้าว คือการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ทันสมัยมาปรับใช้ ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช มีคุณค่าทางโภชนาการที่สูงขึ้น รวมไปถึงขั้นตอนของการผลิตข้าว ตั้งแต่การเลือกพันธุ์ การจัดการแปลง การป้องกันศัตรูพืช ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและดูแลผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ข้าวที่ได้มีคุณภาพสม่ำเสมอ ตรงตามความต้องการของตลาด และเพิ่มผลตอบแทนให้เกษตรกรอย่างแท้จริง ดังนั้น การพัฒนาภาคการเกษตรของไทยให้มีความทันสมัย ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ จึงเป็นการแสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้ผลิตหลักในตลาดอาหารโลก และเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับสินค้าข้าวไทยในระยะยาว
ซินเจนทา ประเทศไทย ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การเกษตรระดับโลก จึงเดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมข้าวไทยอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนานวัตกรรมสารอารักขาพืช การจัดการดูแลการปลูกข้าวแบบครบวงจร การจัดการธาตุอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของข้าวในแต่ละระยะการเจริญเติบโต ไปจนถึงการให้คำแนะนำเชิงลึกจากทีมผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานเคียงข้างเกษตรกรในพื้นที่จริง เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

นายพิษณุ อภิราชกมล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จํากัด กล่าวว่า “เรามีความตั้งใจที่จะช่วยให้เกษตรกรชาวนาไทยสามารถผลิตข้าวเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออกได้อย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก แต่สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่แค่ ปลูกข้าวให้ได้ แต่คือ ปลูกข้าวให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ และตรงกับความต้องการของตลาด ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับการสนับสนุนเกษตรกรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ผ่านนวัตกรรมสารอารักขาพืชและสารชีวภาพบำรุงพืชที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ข้าวไทยมีผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ เรายังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่ลงพื้นที่ร่วมวางแผนกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเตรียมแปลง การเลือกพันธุ์ การจัดการวัชพืช การควบคุมโรคแมลง การดูแลสุขภาพพืช แม้ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มปลูก ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว และการดูแลหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้เทคโนโลยีที่มีอยู่ถูกใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด”
หนึ่งในโปรแกรมสำคัญของซินเจนทาคือ “โกรมอร์* – ปฏิบัติการข้าวเกินเกวียน” ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการแปลงนาข้าวอย่างเป็นระบบแบบผสมผสาน ทั้งในด้านการใช้สารอารักขาพืช การจัดการศัตรูพืช และการดูแลธาตุอาหาร สารชีวภาพบำรุงพืชที่ดูแลส่งเสริมสุขภาพข้าว ในแต่ละระยะของการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะข้าวเล็ก ระยะแตกกอ ระยะตั้งท้อง จนถึงระยะออกรวง โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย คุ้มค่าการลงทุนและมีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังได้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยเสริมศักยภาพในการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันศัตรูพืชและโรคพืช ที่กำจัดได้ยาก ลดการดื้อยา และไม่กระทบต่อระบบนิเวศ

“การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพในยุคนี้ ไม่ใช่แค่การใส่ปุ๋ยหรือพ่นยาแบบที่เคยทำมา แต่ต้องใส่ใจและดูแลทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในพื้นที่ของเรา ซึ่งมีเวลาปลูกเพียง 60 วัน จึงต้องบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โชคดีที่ได้ทีมจากซินเจนทาเข้ามาช่วยให้คำแนะนำ ตั้งแต่การวางแผนการจัดการแปลง ไปจนถึงการใช้โซลูชันที่เหมาะสมกับช่วงวัยของต้นข้าว ทั้งการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช การจัดการวัชพืชอย่างแม่นยำ และการใช้สารชีวภาพที่มีธาตุอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวอย่างแท้จริง ทำให้ใบข้าวเขียวสมบูรณ์ตั้งแต่ระยะต้น รวงแน่น น้ำหนักดี ที่สำคัญคือการใช้ผลิตภัณฑ์ในปริมาณที่พอดี และถูกช่วงเวลาที่เหมาะสมกับพันธุ์และสภาพแวดล้อมของเรา ก็ช่วยลดต้นทุนได้มากขึ้นด้วย” นางสาวปราณี สวนนุ่ม เกษตรกรชาวนา จ. พิษณุโลก กล่าว
สำหรับซินเจนทา ความสำเร็จของเกษตรกรไทยไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเลขผลผลิต แต่คือการสร้างคุณค่าใหม่ให้ “ข้าวไทย” มีความหมายมากยิ่งขึ้นในฐานะอาหารคุณภาพของโลก พร้อมช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น โดยความสำเร็จเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงความรู้ เครื่องมือ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในทุกขั้นตอนของการเพาะปลูกอย่างแท้จริง
ซินเจนทา #เทคโนโลยี ยกระดับการผลิตข้าว #โกรมอร์* – ปฏิบัติการข้าวเกินเกวียน #นางสาวปราณี สวนนุ่ม เกษตรกรชาวนา จ. พิษณุโลก http://นางสาวปราณี สวนนุ่ม เกษตรกรชาวนา จ. พิษณุโลก