CU Vet Enterprise (CUVE) ร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CUVC 2023 เปิดตัว 8 สตาร์ทอัพ ผลักดันนวัตกรรมนักวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง
บริษัท ซียู เวท เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด (ซียูวีอี) บริษัทโฮลดิ้ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ภายใต้บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด (CU Enterprise, CUE) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CUVC 2023 ปีที่ 22 เพื่อนำงานวิจัย นวัตกรรมต่างๆของอาจารย์ในคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเผยแพร่ ให้กับสัตวแพทย์ นักวิจัย หรือบุคคลที่สนใจได้ศึกษา ซึ่งในปีนี้ได้เปิดกว้างในการนำเสนองานวิจัยจากหลากหลายสถาบันจากทั่วประเทศ ในงานนี้ทาง ซียูวีอี ได้เปิดตัว 8 สตาร์ทอัพ ที่จะเข้ามาช่วยผลักดันนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ช่วยเกษตรกรและชุมชน เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
“สพ.ญ. สุนทรี ศรีวานิชภูมิ” กรรมการ บริษัท ซียู เวท เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด กล่าวว่า “ซียูวีอี เป็น บริษัทโฮลดิ้ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ภายใต้บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด (CU Enterprise, CUE) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รูปแบบที่มหาวิทยาลัยมี Holding Company หรือนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน เป็นรูปแบบสากลที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกนิยมทำกันในปัจจุบัน ผลงานของนักวิจัย บุคลากร หรือคณาจารย์ สามารถต่อยอดทางธุรกิจได้จริง โดยการสปินออฟ (Spin off) ออกมาตั้งบริษัทสตาร์ทอัพ (Start up) มีการเปิดเป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างหน่วยงานเจ้าของโครงการ และภาคเอกชน ดังนั้นผลประโยชน์ในธุรกิจที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรม จะถูกจัดสรรอย่างถูกต้องให้ทุกๆฝ่าย (Stakeholders) รวมถึงหน่วยงานเจ้าของโครงการ คือคณะหรือมหาวิทยาลัย นักวิจัย บุคลากร คณาจารย์
ซียูวีอีมีพันธกิจสำคัญ คือสนับสนุนการนำองค์ความรู้ งานวิจัย ซึ่งเป็นทรัพยากรหลักของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปสร้างเป็นธุรกิจนวัตกรรม ในรูปแบบสปินออฟหรือสตาร์ทอัพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ นิสิต บัณฑิต ศิษย์เก่าและบุคลากรในคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรมหลักของซียูวีอี คือสร้างระบบบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสำหรับ Startup สร้างผู้ประกอบการใหม่โดยจัดกิจกรรมบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการรายใหม่ (Business Incubator/Accelerator Program) โดยร่วมมือกับ CU Innovation Hub และศูนย์เทคโนโลยีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UTC) สร้าง Co-Working Space เพื่อบริการพื้นที่การทำงานในแบบครบวงจรให้กับบริษัทสตาร์ทอัพ อย่างไรก็ตามรูปแบบการร่วมก่อตั้งเกิดบริษัท ไม่ได้จำกัดเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่สามารถการก่อตั้งและร่วมลงทุนกับบุคคลภายนอกด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากผู้ที่สนใจที่จะต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็สามารถร่วมจัดตั้งกับทีมวิจัยได้ โดยจะมีบริษัท ซียูเว็ท เอ็นเทอร์ไพรส์จำกัด ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ประกอบการและทีมนักวิจัยนั่นเอง
ปัจจุบันมี จำนวน 15 บริษัทอยู่ภายใต้โครงการเพาะบ่มเพาะธุรกิจ CUVE และมีตัวแทนธุรกิจนวัตกรรมที่น่าสนใจจำนวน 8 บริษัทถูกนำมาจัดแสดงเพื่อหา พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ในงาน CUVC 2023 ในครั้งนี้
บริษัท นาโนเนสท์ จำกัด (NANONEST) วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบรน์ดคอลฟอร์ท (Colfort) เป็นผลิตภัณฑ์คอลลาเจนไทพ์ทู (Collagen Type 2) ที่มีนวัตกรรมการใช้นาโนพาร์ทิเคิล (Nanoparticle) มาช่วยป้องกันการถูกย่อยคอลลาเจนจากกรดในกระเพาะอาหาร และช่วยเรื่องของการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำคอลลาเจนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคข้อต่อข้อเสื่อมผู้ที่ออกกำลังกายมากผู้สูงอายุนอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังมีส่วนประกอบของสารสกัดจากขมิ้นชันและงาดำซึ่งช่วยในเรื่องของลดการอักเสบบริเวณข้อต่อได้ด้วย
บริษัท เพ็ทเฟรนลี่คอมมูนิตี้ จำกัด (PET-FRIENDLY COMMUNIY) เป็นกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) ในคอนเซ็ป “หมารวยช่วยหมาจน” มีรูปแบบการสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยมสำหรับสัตว์เลี้ยงภายใต้แบรนด์ Pawsitive Plus นำกำไรจากผลประกอบการไปช่วยเหลือสุนัขและแมวจรจัดโดยใช้แพลทฟอร์ม Petitude Plus ที่ช่วยบริหารจัดการการดูแลสุนัขและแมวจรจัดในศูนย์พักพิงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
บริษัท พิก มี จำกัด (PIG ME) วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotecnology) เพื่อแปรสภาพของเหลือจากกิจกรรมด้านปศุสัตว์ ให้กลายเป็นวัตถุดิบมูลค่าสูงที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่ สารสกัดจากรก เอกซ์โซโซมจากสารคัดหลั่ง จนถึงแหล่งโปรตีนที่มีคุณค่าในอาหารสัตว์ โดยเป้าหมายการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพิกมีมาจากแนวคิดของเสียจากกิจกรรมด้านปศุสัตว์ เหลือศูนย์ (Zero Waste) สร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้ธุรกิจปศุสัตว์
บริษัท สะมะดุล ไลฟ์ (SAMADOL LIVE) เป็นบริษัทที่มีความตั้งใจที่เปลี่ยนแปลงวิถีการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (Natural Product) ที่ปลอดภัยต่อสัตว์และผู้บริโภค มีเป้าหมายในการใช้ทดแทนยาปฎิชีวนะในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และสารถนอมอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค (Food Preservative) โดยพัฒนาเชื้อโปรไบโอติก (Probiotics) สายพันธุ์ไทยที่มีความสามารถต่อต้านเชื้อโรคและลดยีนดื้อยา ผลิตภัณฑ์ได้รับการออกแบบด้วยระบบ Double Microencapsulation และ Nanomaterials Encapsulation เพื่อนำส่งสู่อวัยะเป้าหมายได้ตรงจุด ส่วน Postbiotic จากกระบวนการผลิต Probiotic ยังนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับฆ่าเชื้อดื้อยาในรูปแบบต่างๆ ในสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้บริษัทยังมีบริการตรวจเชื้อโรคในสัตว์ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง และกำลังวิจัยพัฒนาชุดทดสอบโรคต่างๆ (Antigen Test Kit)
บริษัท วีมาร์ค เว็นเจอร์ จำกัด (VMARC VENTURE) มีสินค้าและบริการสำหรับสัตว์น้ำสวยงาม พัฒนาผลิตภัณฑ์จากความรู้ทางวิชาการงานวิจัย ประสบการณ์ด้านสุขภาพสัตว์น้ำ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ วีมาร์ค อะควา โกลด์ (VMARC AQUA GOLD) เป็นวิตามินรวมช่วยในเรื่องการรักษาสุขภาพของปลาการขาดวิตามินรวมและสร้างภูมิคุ้มกัน ผลิตภัณฑ์ วีมาร์ค อะควา ซี (VMARC AQUA-C) เป็นวิตามินซีเข้มข้นที่ช่วยรักษาปลาที่ขาดวิตามินซีเป็นพิเศษและช่วยเสริมเรื่องสีสันบนตัวปลาได้อีกด้วย
บริษัท ซียูเว็ท เบส โมเดล ( CUVET BEST MODEL) พัฒนาและผลิตสื่อการสอนกายวิภาคทางสัตว์แพทย์เสมือนจริง (Veterinary Anatomical Teaching for Active Learning) โดยใช้วัสดุเหลือใช้ เช่นกระดาษและยางพารามา แปลงร่างใหม่ให้กลายเป็น encyclopedia ที่สามารถเข้าใจกายวิภาคของตัวสัตว์ได้โดยไม่ต้องใช้เนื่อเยื่อจริงจากสัตว์เหมือนในอดีต ง่ายต่อการเรียนรู้ สามารถถอดออกและประกอบใหม่ได้ด้วยแม่เหล็กภายใน ตัวโมเดลมีน้ำหนักเบาพกพาง่ายและปลอดภัยจากสารเคมี เทคโนโลยีนี้สามารถต่อยอดไปสู่การทำสื่อการสอนทางการแพทย์ในมนุษย์เพื่อใช้ในการสอนกายวิภาค และสรีระวิทยาได้ (Anatomy and Physiology)
บริษัท วีบีซี คิท เทค จำกัด (VBC KITTECH) คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากประสบการณ์ตรงของนักวิจัยกว่า20 ปี ผลิตภัณฑ์มีชุดวัดคุณภาพน้ำที่สามารถตรวจคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาสวยงาม และฟาร์มสัตว์น้ำได้อย่างรวดเร็วแม่นยำง่ายดาย ตรวจได้มากถึง 14 พารามิเตอร์ เช่น pH, GH สำหรับปลาสวยงาม ชุดตรวจความเป็นด่าง ชุดตรวจความกระด้าง ออกซิเจนที่ละลายน้ำ แอมโมเนีย คลอรีน แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลไฟด์ ไนไตรด์ ฟอสเฟต ในน้ำ ค่าทำให้สามารถประเมินสถานการณ์ของฟาร์มได้อย่างรวดเร็วและแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
บริษัท อะควาอินโนแวค (AQUA INNOVAC) วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับโรคติดเชื้อของปลา พัฒนาเทคนิค วิธีการและชุดตรวจสอบวินิจฉัยโรคติดเชื้อของปลา และพัฒนานวัตกรรมวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อของปลา ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเด่นของบริษัทได้แก่ นวัตกรรมการทำวัคซีนปลาแบบไร้เข็ม หรือนาโนวัคซีนเกาะติดเยื่อเมือกแบบจุ่มแช่เพื่อป้องกันโรคเหงือกเน่า หรือโรคติดเชื้อฟลาโวแบคทีเรียม ซึ่งสามารถทำวัคซีนให้ปลาได้ครั้งละหลายแสนตัว และป้องกันโรคเหงือกเน่าให้ปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการทำวัคซีนปลาที่ง่าย สะดวก มีประสิทธิภาพ และลดการสูญเสียจากการติดเชื้อได้อย่างแท้จริง
สำหรับผู้ประกอบการ นักลงทุนที่สนใจในนวัตกรรมต่างๆ ของบริษัทร่วมทุนกับซียูวีอี สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.vet.chula.ac.th/ie_relevant_detail/13 หรือติดต่อ คุณ ชนาธิป อังสนันท์สุข Startup Relationship Manager บริษัท ซียู เวท เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โทร 02-2189549 email [email protected]