สกท.(AMMAT)ร่วมกับเมล็ดพันธุ์ตราศรแดงและสมาพันธ์นักข่าวเกษตรนานาชาติ(IFAJ)ร่วมเป็นเจ้าภาพ“จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้สื่อสายเกษตรไทย-นานาชาติ”เพื่อยกระดับและพัฒนาสื่อเกษตรให้อยู่คู่กับเกษตรของไทย

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด (เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง) ร่วมกับสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย(AMMAT)และพันธ์นักข่าวเกษตรนานาชาติ (IFAJ) จัดงานเสวนา “การแลกเปลี่ยนความรู้สื่อสายเกษตรไทย-นานาชาติ” เพื่อพัฒนาสื่อเกษตรให้ทันสมัยและเชื่อมโยงเกษตรกรทั่วโลก งานนี้มีนักข่าวเกษตรจาก 12 ประเทศเข้าร่วมและได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น



การเสวนาเน้นที่เทรนด์และความท้าทายของสื่อเกษตรในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนไปใช้โซเชียลมีเดีย แทนสื่อดั้งเดิม นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนแนวทางความร่วมมือระหว่างสื่อเกษตรไทยและนานาชาติ เพื่อให้เกษตรกรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยซึ่งการทำงานของนักข่าวเกษตรต่างชาติ ส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับสื่อสิ่งพิมพ์ เพราะเป็นสื่อที่สามารถนำเสนอเรื่องราวเนื้อหาได้อย่างละเอียด และยังเป็นสื่อที่น่าเชื่อถือ แม้ว่าคนรุ่นใหม่จะนิยมเสพเนื้อหาผ่านสื่อออนไลน์ แต่ในแง่ของความน่าเชื่อถือ สื่อสิ่งพิมพ์ยังคงมีความสำคัญมาก #ซึ่งต่างจากสื่อไทย ไม่เพียงเฉพาะสายเกษตรแทบทุกองค์กรที่กำลังทำหน้าที่สื่อในทุกวันนี้…ที่มักจะชอบทำข่าวแบบเล่าต่อ โดยไม่มีการสืบค้นยืนยันข้อมูล ซึ่งส่วนตัวมองว่าอาจจะเป็นเพราะนักข่าวเกษตรส่วนใหญ่ก็ไม่มีความรู้ด้านเกษตรมากพอ ไม่ได้เรียนด้านเกษตร การสื่อสารบางเรื่องจึงไม่สามารถจับผิดจับถูกข้อมูลจากแหล่งข่าวได้…จริง ๆ

นี่ก็น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นความท้าทายของสื่อเกษตรต่างชาติเช่นกัน ที่เห็นชัดเจนอย่างหนึ่งคือ กลุ่มเป้าหมายในการรับสารของสื่อเกษตรต่างชาติกับไทย มีพฤติกรรมการรับสารที่แตกต่างกัน เกษตรกรหรือผู้บริโภคข่าวสารด้านเกษตรของต่างชาติ #นิยมรับข่าวสารจากสื่อสิ่งพิมพ์#นิยมอ่านข้อมูลที่มีรายละเอียดมากกว่าบทสรุป ซึ่งจะต่างจากคนไทย…ที่หลังจากเทคโนโลยีดิจิทัลและโซเชียลมีเดียได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต #คนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่นิยมเสพคอนเทนท์ที่มีสาระยาวๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการอ่านหรือการชมคลิป (สังเกตว่าคนรุ่นใหม่ ๆ จะชอบ skip หรือกดข้ามทันทีที่เนื้อหาเริ่มยืดเยื้อ) และสื่อของไทยยังนิยมให้ความสำคัญกับการนำเสนอเนื้อหาสาระแบบจับเทรนด์ เกาะกระแส เพราะต้องการยอดเอนเกจเมนท์ (engagement) เป็นหลัก

ในขณะที่สื่อเกษตรต่างชาติจะไม่เน้นตรงจุดนี้ แต่จะเน้นการนำเสนอเนื้อหาที่อิงตามความสำคัญ ความน่าสนใจ หรือประโยชน์กับผู้รับสารหรือสังคมเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าหลายเรื่องที่ทำอาจจะไม่แมส (mass) #แต่มันก็ทำให้สื่อของเขามีคุณค่าและมีความน่าเชื่อถือ ที่น่าสนใจอีกประเด็นที่สังเกตได้คือ ความเป็นนักข่าว กับอินฟลูเอนเซอร์ ของสื่อเกษตรต่างชาติ มันถูกแบ่งแยกกันชัดเจนมาก เพราะนักข่าวของเขาคือต้องนำเสนอข้อมูลที่เชื่อถือได้ เรียกว่า…กว่าจะเป็นข่าวสักเรื่อง ต้องมีการคิดประเด็น เลือกประเด็นนำเสนอ ตรวจสอบข้อมูล คัดข่าว … มันผ่านมาหลายขั้นตอนกระบวนการทำงานเลยล่ะ ไม่ใช่แค่มีมือถือ มีกล้อง แล้วไปสัมภาษณ์ ทำคลิป หรือ live แบบ real time แบบไม่ต้องมี script … ถ้าทำแบบนั้น…แบบไม่ต้องสนใจเรื่องการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล มีสวนหลังบ้านก็โพสต์ …คุณก็เป็นแค่ อินฟลูเอนเซอร์


คุณสตีฟ เวอร์โบล ประธาน IFAJ และนายภิญโญ แพงไธสง นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ต่างชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนความรู้ในวงการสื่อเกษตร เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรในอนาคต

บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ยืนยันถึงความตั้งใจในการสนับสนุนเกษตรกรผ่านการเผยแพร่ข้อมูลและนวัตกรรมที่มีประโยชน์ โดยหวังว่าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้พัฒนาสื่อเกษตรของไทยต่อไป

#สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย#AMMAT#สมาพันธ์นักข่าวเกษตรนานาชาติ#IFAJ#เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง#ซินเจนทา#ผู้สื่อข่าวสายเกษตร#นักข่าวเกษตร#สื่อมวลชน#สื่อสิ่งพิมพ์#สื่อออนไลน์#สื่อวิทยุ#สื่อโทรทัศน์#เกษตรกร#เกษตรกรรม#Agriculture#Media