มสธ.จับมือ บ.เจียไต๋ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการเปลี่ยนของเสียจากภาคอุตสาหกรรมสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เมื่อวันที่ 21มี.ค.2567 นายมนัส เจียรวนนท์ ประธานคณะบริหาร บริษัทเจียไต๋ จำกัด ได้ลงนามความร่วมมือกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในโครงการความร่วมมือเปลี่ยนของเสียจากภาคอุตสาหกรรมสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สำนักงานใหญ่บริษัทเจียไต๋ จำกัด
“ขยะ” เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ในปี พ.ศ. 2565 มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น 25.70 ล้านตัน (ระบบ สารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน กรมควบคุมมลพิษ, 2566) ขยะมูลฝอย (solid waste) คือ เศษ กระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัสดุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์หรือสิ่งอื่นใดที่ เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น ซึ่งขยะต่างๆ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของ มนุษย์ โดยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและพาหะของโรค ก่อให้เกิดความรำคาญและไม่น่าดู ก่อให้เกิดมลพิษต่อ ดิน น้ำ และอากาศ และทำให้เกิดการเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีแมลงวัน เป็นพาหะ หรือได้รับสารพิษที่มากับของเสียอันตราย เป็นต้น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580
ในยุทธศาสตร์ชาติบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สังคมเศรษฐกิจสีเขียว ในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทาง ชีวภาพ รักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียว และส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาพื้นที่ เมือง ชนบท เกษตร และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สงวนรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม/มรดกทางสถาปัตยกรรม/ศิลปวัฒนธรรม และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อ กำหนดอนาคตประเทศ พัฒนาและดำเนินโครงการที่ยกระดับกระบวนทัศน์บนหลักการมีส่วนร่วม รวมถึงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570)
มีหลักการและแนวคิดหนึ่งที่กล่าวถึง การพัฒนาเศรษฐกิจ ชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว โดยให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาความสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต การให้บริการ และการบริโภคเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในหมุดหมายที่ 10 ไทย มีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมายที่ 3 การสร้างสังคมคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ตัวชี้วัดที่ 3.2 การนำ ขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ของประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของ ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ภายในปี 2570 กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและกลไกสนับสนุน เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ กลยุทธ์ย่อยที่ 4.1 ส่งเสริมงานวิจัยเทคโนโลยีและพัฒนาแพลตฟอร์ม สนับสนุนธุรกิจรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
นำเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัย ความคิด สร้างสรรค์ ภูมิปัญญา และนวัตกรรมท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและลดของเสียจาก กระบวนการผลิต ส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลและแพลตฟอร์มเสริมสร้างความสามารถในการ เปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ การบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีการ ออกแบบเชิงนิเวศ การจัดการของเสีย การพัฒนาธุรกิจ และการแลกเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ระหว่างธุรกิจและ อุตสาหกรรม และกลยุทธ์ย่อยที่ 4.3 พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลดและหมุนเวียนการใช้ทรัพยากร และเพิ่มมูลค่าของเสีย ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุชนิดเดียว การใช้วัสดุรอบ สอง การอัพไซเคิล มาใช้ในการผลิตและใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเดิม ดังนั้นการจัดการขยะเหลือศูนย์ (zero waste management) โดยยึดหลักการที่ว่า “ขยะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล” และเป็นการดำเนินการแบบใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลง
การลดการสร้างขยะด้วยแนวคิด 3R ลดใช้ นำกลับมาใช้ซ้ำ และรีไซเคิล โดยเริ่มต้นที่การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (reduce) การ นำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ (reuse) และการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือ รีไซเคิล (recycle) ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและหันมาร่วมมือกันในการจัดการขยะ โดยสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable university for sustainable development goals) ผ่านโครงการจัดอันดับ UI Green Metric หรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการการใช้พลังงาน การจัดการของเสีย การ ใช้ทรัพยากรน้ำ การจัดการระบบการขนส่งภายใน และการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับ ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชน ซึ่งสหประชาชาติได้กำนหนดให้อุตสาหกรรมมีความยั่งยืนเป็นหนึ่งในเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2579
โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการใช้ เทคโนโลยีและพัฒนาให้เกิดกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ กระทรวงอุตสาหกรรมของประเทศไทย ได้เริ่มนำแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยั่งยืนมาเป็นส่วนหนึ่งของการ กำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยเพื่อให้การผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผ่านโครงการ อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) และหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้จัดทำคู่มือตัวชี้วัด ผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกล่าวถึง การขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ด้วยการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy: SEP) มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นแนวทางหนึ่งในการสนองตอบต่อ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในโครงการ Sufficiency Economy Philosophy for SDGs Partnership เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีบทบาทในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals) ภายใต้เป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) ความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection) นอกจากมหาวิทยาลัยและภาคเอกชนแล้ว ยังมีภาคประชาชนหรือชุมชนที่มีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของ การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึง วัฒนธรรม ทำให้ในกระบวนการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต้องคำนึงถึงบริบทของพื้นที่หรือภูมิสังคมของแต่ละชุมชน โดย มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของคนในชุมชนทุกกลุ่มรวมถึงกลุ่มเปราะบาง เพื่อหนุนเสริมให้เป็นการ พัฒนาที่มีความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) ภายใต้วัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกตัญญูกตเวที ความอ่อนน้อมถ่อมตน การมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปัน มีความเมตตากรุณาต่อคนในชุมชน เสมือนเป็นคนในครอบครัว เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชนทุกกลุ่มรวมถึงกลุ่มเปราะบาง หรือส่งเสริมการ คิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์หรือแก้ปัญหา ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หรือตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ที่นำไปสู่ความยั่งยืน หากทุกภาคส่วน (สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชน และ ภาคประชาชนหรือชุมชน) เชื่อมโยงและร่วมมือกันจะทำให้ประเทศชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล มั่นคง ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด ยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิต มุ่งพัฒนาคุณภาพของประชาชนทั่วไป เพิ่มพูนวิทยฐานะแก่ ผู้ประกอบอาชีพและขยายโอกาสทางการศึกษาต่อสำหรับทุกคน เพื่อสนองความต้องการของบุคคลและสังคมด้วยการจัดระบบการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งใช้สื่อการสอนทาง ไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ และวิธีการอื่นที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ ต้องเข้าชั้นเรียนตามปกติ ได้มียุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยด้านการตอบสนองต่อการพัฒนาชุมชน สังคมและ ประเทศชาติให้เข้มแข็งก่อให้เกิดความยั่งยืน โดยมีสถานอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก เป็น “อุทยานการเรียนรู้ ตามอัธยาศัย” ที่ประชาชนทุกเพศทุกวัยสามารถได้รับโอกาสในการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาตนเองตามความพร้อม และศักยภาพของตนเองหรือตามอัธยาศัย โดยมีองค์ความรู้ที่หลากหลายทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในสังคมไทยให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข ผนวกกับศาสตร์จากสาขาวิชาต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยที่สามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนผ่านโครงการ บริการวิชาการที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์และสามารถพัฒนาสู่การเป็นชุมชนที่ ยั่งยืนต่อไป บริษัทเจียไต๋ จำกัด ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2464 บนถนนทรงสวัสดิ์ ย่านเยาวราช ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในบริษัทเกษตรครบ
วงจรชั้นนำ โดยมีผลิตภัณฑ์และบริการครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปสู่ปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่เมล็ดพันธุ์คุณภาพ ปุ๋ย ผลิตภัณท์อารักขาพืช อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการเพาะปลูก ไปจนถึงการส่งมอบผลผลิตที่สดใหม่ ปลอดภัย และ มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของบริษัทในการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเกษตร ที่ส่งมอบความยั่งยืนด้านอาหาร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในทุกภาคส่วน ภายในปี 2568 ด้วยเจตนารมณ์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรด้วยผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีคุณภาพ และเล็งเห็นถึง ความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงมีกรอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3P เพื่อความมั่งคั่ง เพื่อผู้คน และเพื่อโลกของเรา จึงมีโครงการมากมาย เช่น เจียไต๋ ปันน้ำใจ สู่ชุมชน และเจียไต๋ โซเชียว เดย์ รวมพลังพนักงาน ทั่วประเทศปลูกความยั่งยืนให้ชุมชน เป็นต้น ภาคประชาชนหรือชุมชน มีทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม ที่น่าสนใจและสามารถพัฒนาเป็นเศรษฐกิจฐานรากได้ หากสามารถเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยและบริษัทจะเป็นการร่วมมือกันในการพัฒนาอย่างมี ศักยภาพและยั่งยืนได้
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรมหรือ ภาคเอกชน และภาคประชาชนหรือชุมชน
2.2 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชน และภาค ประชาชนหรือชุมชน
2.3 เพื่อการจัดการขยะหรือของเหลือใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมและนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า
2.4 เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ชุมชน
2.5 เพื่อการสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมของทุกภาคส่วน