หนุนคิดค้นสิ่งประดิษฐ์! กยท. จัดประกวดนวัตกรรมยางพารา ปี 66 พัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ดันใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น

หนุนคิดค้นสิ่งประดิษฐ์! กยท. จัดประกวดนวัตกรรมยางพารา ปี 66

พัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ดันใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น

       วันนี้ (14 ก.ค. 66) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดยสถาบันวิจัยยาง จัดกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี 2566 รอบคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผลงานชิงชนะเลิศ หวังยกระดับยางพาราเป็นนวัตกรรม ต่อยอดเชิงพาณิชย์ พร้อมหนุนการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยกิจกรรมฯ ครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ห้องประชุมกันตัง กยท. สำนักงานใหญ่

       

  นายณกรณ์ กล่าวว่า กยท. เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการบริหาร การค้นคว้า งานวิจัย รวมถึงการพัฒนากิจการยางในทุกๆ สาขาอย่างครบวงจร จึงเปิดโอกาสให้กับบุคลากรนอก กยท. ทุกระดับ ตั้งแต่บุคคลทั่วไป เกษตรกรชาวสวนยาง นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ และคณาจารย์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมด้านยาง ประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านแนวความคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยางพารา พร้อมนำแนวคิดที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัย หรือนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ต่อไป อีกทั้ง ยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าวัตถุดิบยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ สามารถสร้างสรรค์และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อภารกิจของ กยท. และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต

        

 การประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี 2566 ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566 มีผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานจำนวนมาก และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคัดเลือกเหลือ 19 ทีม เข้ามานำเสนอผลงานในวันนี้   โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ด้าน  ได้แก่ 1. ด้านต้นน้ำ 2.  ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ แบ่งรางวัลตามประเภทการประกวด คือ รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา และรางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับอาจารย์หรือนักวิจัย

รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมหมวกนิรภัยจากยางพารา โดยนายมนัส หมวดเมือง จากสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านหนองครก จำกัด

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: นวัตกรรมถุงเพาะชำจากกระดาษขี้เลื่อยไม้ยางพารา โดยนางสาวชลธิชา เดชทองคำ

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: นวัตกรรมผนังกั้นฉนวนความร้อนและฉนวนกันเสียงจากเศษไม้ยางพารา โดยนายธวัชชัย อริยะสุทธิ

– รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่

  1. นวัตกรรมกระถางซีเมนต์ผสมขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งมีน้ำหนักเบาและควบคุมระยะเวลาย่อยสลายได้ โดยนายธวัชชัย อริยะสุทธิ
  2. นวัตกรรมกระถางย่อยสลายได้จากเศษไม้ยางพารา โดยนายธวัชชัย อริยะสุทธิ
  3. นวัตกรรมวัสดุตกแต่งภายในอาคารจากเศษยางฟองน้ำ โดย ว่าที่ร้อยตรีทศพล มาตรานางสาวนุสนา แหละหมัน และนางสาวศิริวรรณ แก่นแก้ว

ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา (ด้านต้นน้ำ)

รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยบำรุงหน้ายางพารา โดยนายนรวิชญ์ ทองวุ่น  นายธนกฤต ประชุม และนายนพดล บำเพ็ญ จากวิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ สุราษฎร์ธานีระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ)

รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมชุดตรวจลายนิ้วมือแฝงอย่างง่ายในระดับ Small scale ด้วย Small Particle Reagent ร่วมกับวัสดุเรืองแสงคาร์บอนดอทจากใบยางพารา โดยนายชนาธิป อมรธรรมสถิต นายกมลวิช กาญจนทวีลาภ นายเพชรเก้า กาญจนะวรรธนะ นายยศวัฒน์ สโรจอัครนันท์ และนายพิทยนันท์ เทียนเจริญ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: นวัตกรรมเซนเซอร์วัดค่าความโค้งงอจากยางฟองน้ำผสมรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ โดยนางสาวต้นข้าว ต่ายใหญ่เที่ยง และนางสาวนภัสวรรณ ภะวะ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: นวัตกรรมการพัฒนาการดูดซับเสียงของแผ่นวัสดุลามิเนตด้วยแคลเซียมซิลิเกตจากวัสดุเหลือใช้ โดยนายฐิติพันธ์ วะเศษสร้อย และนางสาวธัญญาภรณ์ ภูทะราช จากโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล

– รางวัลชมเชย: มีทั้งสิ้น 5 รางวัล ได้แก่

  1. นวัตกรรมแบริเออร์กันถนนจากยางพาราวัสดุธรรมชาติ โดยนางสาวนิติพร ฟูวังหม้อ และนายกรกฤต ลิ่มจารุถาวร จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  2.   นวัตกรรมวัสดุคอมโพสิตโฟมยางจากยางพาราสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยนายภัทรพล มักขุนทด และนางสาวเบญจพร ทองน่วม จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
  3. นวัตกรรมการพัฒนาวัสดุจากแกลบเพื่อเก็บรักษาพลังงาน โดยนายพงศกร ศรีวิชา และนายศรัญย์ อินทรีย์ จากโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
  4.           นวัตกรรมเม็ดวัสดุดูดซับโลหะจากวัสดุธรรมชาติที่มีโฟมยางพาราเป็นตัวประสาน โดยนางสาวสุวนันท์ ทิพย์อารักษ์วงศ์ นางสาวกิ่งฉัตร บูรณพาสน์ นายภูริช พิชญานุรัตน์ และนายธัชชัย ลำเจียก จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
  5. นวัตกรรมวัสดุคอมโพสิตดูดซับเสียงและต้านทานการลามไฟจากฟางข้าวร่วมกับเส้นใยมะพร้าว โดยมีน้ำยางพาราเป็นตัวประสานเพื่อประยุกต์ในห้องซ้อมดนตรี โดยนายภคพล เตชะรุจิรานนท์ และนายจิรภัทร บุญอนันธนสาร จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ)

รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมแผ่นเจลยางธรรมชาติลดการเกิดแผลกดทับ โดยนายคณิตสรณ์ ศรีชัย นางสาวธวัลรัตน์ ไชยสิทธิ์ และนางสาวอาทิตยา ช่วยบำรุงระดับนักวิจัยและอาจารย์ (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ)

รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมการใช้ใบยางพาราปรับปรุงคุณภาพเพื่อลดต้นทุนค่าอาหารหยาบในโคนม โดย ดร.สุธีรวัฒน์ พันธุ์มาลัย และนายอภิชาติ ครุฑสุวรรณ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: นวัตกรรมพัฒนาภาชนะสำหรับปลูกกล้วยไม้ทดแทนกาบมะพร้าวจากขี้แป้งยางพาราวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำยางข้น โดย ผศ.ดร.ณิชาภา มินาบูลย์ ผศ.ดร.ประชุม คำพุฒ ผศ.สุธน รุ่งเรือง ดร.ธีรินทร์ คงพันธุ์ และ ดร.จุฬารัตน์ เอี่ยมสมาย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: นวัตกรรมหุ่นฝึกผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่จากฟองน้ำยางธรรมชาติ โดย รศ.ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ ผศ.ทพ.ภาณุ สุภัทราวิวัฒน์ รศ.ดร.ทพญ.ศรีสุรางค์ สุทธปรียาศรี และ ผศ.ทพญ.มะลิ นิยมบัณฑิต