งาน AGRICONNECT 2023 กำหนดมาตรฐานใหม่และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน

งาน AGRICONNECT 2023 กำหนดมาตรฐานใหม่และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน

กรุงเทพมหานคร – การประชุมและนิทรรศการ AGRICONNECT 2023 เป็นงานที่กล่าวถึงความท้าทายด้านความยั่งยืนของภาคการเกษตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2566 ณ ทรู ดิจิตัล พาร์ค – กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมเกือบ 400 คน จาก 19 ประเทศในหลากหลายทวีป งานดังกล่าวจัดขึ้นโดยสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน (ดีแอลจี) และ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิก โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมอย่างเป็นทางการ ภายในงานได้กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร การแข่งขันด้านทรัพยากร และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ความท้าทายทั้งหมดที่ส่งผลต่อการทำฟาร์มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานจัดขึ้นทั้งหมดสองวัน ซึ่งรวมการสัมมนาและพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการอยู่ในวันแรก และปิดท้ายวันที่สองด้วยการเยี่ยมชมฟาร์มตัวอย่าง

โดยงาน AGRICONNECT 2023 นี้ มีผู้เชี่ยวชาญ และมืออาชีพจากภาคการเกษตรระดับนานาชาติมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และแนวโน้มล่าสุดด้านการเกษตร การประชุมเริ่มต้นด้วยการกล่าวรายงานและพูดถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน โดย นางคาทารีน่า สแตส์เก้ กรรมการผู้จัดการบริษัท ดีแอลจี เอเชีย แปซิฟิก และนาย อิกอร์ พาวก้า กรรมการผู้จัดการบริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิก จากนั้นกล่าวเปิดโดย นายนราพัฒน์ แก้วทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ภายในงานมีการนำเสนอเนื้อหาที่เข้มข้นและเจาะลึก ด้วยหัวข้อการประชุมที่มากมายรวมถึงเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อม, การเงินเพื่อการเกษตรสำหรับอนาคตการเกษตร, การทำฟาร์มอัจฉริยะ, การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล, ก๊าซชีวภาพเป็นทางเลือกในการจัดการกากพืช, โมเดลธุรกิจในการทำเกษตรแนวตั้ง, ดิจิทัลเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรไทย, ส่งเสริมเกษตรกรรุ่นใหม่, เกษตรนิเวศวิทยา, การใช้สารกำจัดศัตรูพืชชีวภาพ และกฎระเบียบตลาดคาร์บอนสำหรับภาคการเกษตร เป็นต้น


สำหรับงาน AGRICONNECT 2023 มีผู้เข้าร่วมประชุมเกือบ 400 คน โดยรวมมีผู้เข้าร่วมงานจากประเทศไทย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, อินเดีย, เยอรมนี, อิตาลี, สหรัฐอเมริกา, และอื่นๆ ภายในงาน ดร. แบนด์ คริสเตียนเซ่น ที่ปรึกษาด้านอาหารและการเกษตรของสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ได้กล่าวชื่นชมการจัดงาน AGRICONNECT ครั้งนี้ว่าเป็นงานที่สามารถรวบรวมวิทยากรคุณภาพชั้นนำของอุตสาหกรรมการเกษตรจากทั่วโลกเพื่อมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน งาน AGRICONNECT 2023 มีการหยิบยกปัญหาและประเด็นสำคัญในเชิงลึกมาพูด รวมถึงการจัดการกับประเด็นสำคัญต่างๆ วิทยากรรับเชิญแต่ละท่านเป็นผู้มีวาทกรรมระดับสูงที่น่ายกย่อง

Dr.-Bernd-Christiansen

นายแมทธิว แมคโดนัล ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้จัดการผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีความแม่นยำประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ บริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรล แสดงความขอบคุณสำหรับแนวทางที่มุ่งเน้นของ AGRICONNECT โดยนายแมทธิว กล่าวเสริมว่า “งานนี้เป็นงานที่รวบรวมผู้เข้าร่วมงานทุกคนให้มุ่งไปสู่การแสวงหานวัตกรรม โดยทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับมาตรฐานและนำการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายมาสู่อุตสาหกรรมการเกษตรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ AGRICONNECT นำเหล่าผู้นำทางด้านอุตสหากรรมการเกษตรมาร่วมอภิปรายโต๊ะกลม เป็นการรวบรวมความคิดเห็นที่หลากหลาย โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในภาคส่วนนี้”

 


ภายในงานได้เปิดให้ผู้เข้าร่วมงานเข้าถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องและสามารถใช้งานได้จริง โดยในหัวข้อการเสวนาทั้ง หมดเปิดให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการถามและตอบ และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

ในหัวข้อ “โอกาสและความท้าทายในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำฟาร์มอัจฉริยะในประเทศไทย” ซึ่งจัดโดยโครงการความร่วมมือเยอรมัน-ไทยในการพัฒนาคลัสเตอร์ฟาร์มอย่างยั่งยืน โดยนายคาร์สเตน ซีเบล หัวหน้าทีมโครงการความร่วมมือเยอรมัน-ไทยฯ ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างฟาร์มในประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงถึงการลดลงของพื้นที่การเกษตรเฉลี่ยต่อฟาร์มและผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของครัวเรือนไทย ศักยภาพของการริเริ่มข้ามสายงาน ซึ่งรวมถึงการวิจัย การเปิดใช้งานกรอบนโยบาย การจัดหาเงินทุนในชนบท และนวัตกรรมการทำฟาร์มอัจฉริยะ ในการกำหนดอนาคตของการทำฟาร์ม

สำหรับช่วงหัวข้อ “ความยั่งยืนในภาคเกษตรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ความท้าทายในการผลิตที่ยั่งยืนและโอกาสสำหรับบริษัทธุรกิจเกษตรของเยอรมัน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี หรือ บีเอ็มอีแอล จัดให้มีการอภิปรายโต๊ะกลมที่ส่งเสริมการเจรจาแบบเปิดระหว่างภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และ ผู้แทนกระทรวง ดร. แบนด์ คริสเตียนเซ่น เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเสริมสร้างศักยภาพอย่างต่อเนื่องของเกษตรกรผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการถ่ายทอดองค์ความรู้ ขณะที่ ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์  ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการหารือเชิงนโยบายรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่คุณค่า นายวรชัย มโนมัธย์ กรรมการผู้จัดการ ครอปเทค เอเชีย และนาย เนริโอ แอนโทนิโอ ซิบูโล ที่สอง รองประธานบริหารของสมาคมผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งฟิลิปปินส์ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี การตระหนักรู้ด้านวัฒนธรรมและบริบท และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่แข็งแกร่งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งสร้างธุรกิจการเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาที่ยั่งยืน

การเยี่ยมชมฟาร์มสามครั้งนำเสนอแนวทางความยั่งยืน

วันที่ 25 พฤษภาคม 2023 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงาน AGRICONNECT 2023 กระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน หรือ บีเอ็มอีแอล เป็นผู้ร่วมจัดกิจกรรมการเยี่ยมชมฟาร์มที่นำเสนอข้อมูลเชิงลึกแก่ผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับความสำเร็จและแรงบันดาลใจของฟาร์มทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ (1) เจียไต๋ ร่วมกับ ทรู ดิจิทัล โซลูชั่น ในจังหวัดกาญจนบุรี (2) สปีดดี้ แอคเซส ในจังหวัดสมุทรปราการ และ (3) ไดสตาร์ เฟรช ฟาร์ม ในจังหวัดนนทบุรี

ในส่วนของฟาร์ม ไดสตาร์ เฟรช นายสานสิน ศรีภิรมย์รักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้แบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จของฟาร์ม โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของฟาร์มในการดูแลให้ผลผลิตปราศจากศัตรูพืชและมลพิษ ไดสตาร์ เฟรช กลายเป็นฟาร์มซุปเปอร์ฟู้ดชั้นนำ โดยให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพทั้งหมด การอุทิศตนเพื่อ “ทำสารกำจัดศัตรูพืชให้เป็นศูนย์” นายสานสินได้วางแผนให้ ไดสตาร์ เฟรช เป็นผู้นำของการทำเกษตรแนวตั้งแบบยั่งยืน โดยกลยุทธ์การเลือกพื้นที่ทำการเกษตรคือการเลือกพื้นที่ในเขตเมืองเพื่อช่วยให้เกิดการเติบโตและการกระจายในท้องถิ่นที่สะดวก ลดการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ไดสตาร์ เฟรช อุทิศตนอย่างต่อเนื่องในการมีส่วนช่วยในการสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

สำหรับฟาร์ม เจียไต๋ ที่ร่วมมือกับ ทรู ดิจิตัล โซลูชั่น ที่จังหวัดกาญจนบุรี ดร.วัลลภัช แก้วอำไพ ประธานบริหารด้านกลยุทธ์องค์กร ของเจียไต๋ ฟาร์ม ได้นำเสนอโซลูชั่นขั้นสูงมากมาย รวมถึงระบบการปล่อยปุ๋ยอัจฉริยะที่รวมการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยอัตโนมัติผ่านการตรวจสอบจับเซ็นเซอร์ การมีอยู่ของหุ่นยนต์สำหรับการเก็บเกี่ยวและการจัดส่ง โดรนฉีดพ่นเพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ และโดรนเพาะเมล็ดที่อำนวยความสะดวกในการจัดหาต้นกล้าที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการทำฟาร์มอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ การเยี่ยมชมฟาร์ม สปีดดี้ แอคเซส ภายใต้การกำกับดูแลของนายภูมิพันธ์ คูสกุล กรรมการผู้จัดการ ได้นำเสนอต่อคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเยี่ยมชมฟาร์ม ว่า สปีดดี้ แอคเซส มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับการเจริญเติบโตของพืช พวกเขาเน้นการพัฒนาระบบควบคุมที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของพืชผลประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำฟาร์มในร่ม (ในร่ม/พีเอฟอีแอล หรือ โรงงานผลิตพืชที่ใช้แสงประดิษฐ์ – แสงแดดเทียมจากหลอดไฟ ทดแทนแสงแดดจากดวงอาทิตย์) การปลูกในเรือนกระจก หรือการปลูกกลางแจ้ง สปีดดี้ แอคเซส ได้แสดงถึงความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและอุปกรณ์การเกษตรจากแบรนด์ระดับโลกที่มีชื่อเสียง

การเยี่ยมชมฟาร์มแบบให้ข้อมูลเชิงลึกเชิงปฏิบัติ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นโดยตรงถึงความก้าวหน้าในแนวทางการทำฟาร์มที่ยั่งยืนและสร้างสรรค์  AGRICONNECT 2023 ทำหน้าที่เป็นเวทีเฉพาะทางสำหรับความร่วมมือ การแบ่งปันความรู้ และแรงบันดาลใจ ส่งเสริมให้แต่ละคนกำหนดอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น

ความสำเร็จของ AGRICONNECT 2023 และกิจกรรมการเยี่ยมชมฟาร์ม ได้รับการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนและพันธมิตรจากอุตสาหกรรม อาทิ บริษัท ไบวา เยอรมัน, บริษัท ไบโอไซ (ไทยแลนด์), บริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรล (ไทยแลนด์), บริษัท ออร์เคล นอร์เวย์ และกระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน หรือ บีเอ็มอีแอล

ขณะนี้ ทางสมาคมเกษตรกรรมเยอรมนี (ดีแอลจี) และ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิก ได้เริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับงานเกษตรกรรมที่สำคัญครั้งต่อไป เพื่อการนำเสนอนวัตกรรมล่าสุดในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่มีความหมาย และมีส่วนร่วมร่วมกันเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ประกอบด้วย งาน AGRITECHNICA 2023 ที่เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 12-18 พฤศจิกายน 2566 และงาน AGRITECHNICA ASIA and HORTI ASIA 2024 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2567 ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร.